admin

สำนักงานบัญชีคุณภาพที่ผ่านการรับรอง

สำนักงานบัญชีคุณภาพที่ผ่านการรับรอง

เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมีการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและเป็นที่น่าเชื่อถือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงได้กำหนดให้มีการออกหนังสือรับรองคุณภาพ ให้แก่สำนักงานบัญชีที่ผ่านการตรวจประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. 2558 จากการตรวจประเมินคุณภาพสำนักงานบัญชี ปรากฏว่ามีสำนักงานบัญชีที่ผ่านการตรวจประเมินตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าข้างต้น และได้รับหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีซึ่งมีกำหนดอายุ 3 ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือรับรอง ดังนี้ รายชื่อและที่ตั้งของสำนักงานบัญชีที่ผ่านการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี รายชื่อสำนักงานบัญชีคุณภาพในกรุงเทพมหานคร รายชื่อสำนักงานบัญชีคุณภาพในปริมณฑล รายชื่อสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคกลาง รายชื่อสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคเหนือ รายชื่อสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รายชื่อสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคตะวันออก รายชื่อสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคใต้

ภาพบรรยากาศภายใน บริษัท ทรัพย์แสนดี การบัญชี จำกัด

ภาพบรรยากาศภายใน บริษัท ทรัพย์แสนดี การบัญชี จำกัด

ภาพบรรยากาศ และ พนักงานของบริษัท ทรัพย์แสนดี การบัญชี จำกัด

ศูนย์ฝึกอบรมของทรัพย์แสนดี การบัญชี

ศูนย์ฝึกอบรมของทรัพย์แสนดี การบัญชี

สำนักบัญชีทรัพย์แสนดี การบัญชี จัดให้มีศูนย์ฝึกอบรม เพื่อสนับสนุนงานบริการจัดทำบัญชี เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ ศูนย์ฝึกอบรมมีภาระกิจหลัก 3 เรื่องคือ หน่วยฝึกอบรม ห้องประชุม ที่ปรึกษาธุรกิจและวางแผนภาษี ทำหลักสูตรในการอบรมประจำ 3 เรื่องคือ 1.ระบบเอกสารธุรกิจ 2.ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ 3.บุคคลธรรมดาทำธุรกิจ ซึ่งได้เริ่มเปิดให้บริการมาตั้งแต่ มกราคม 2562 โดยเริ่มให้บริการกับกับลูกค้าของสำนักงานฯ เป็นการให้บริการฟรีไม่คิดค่าใช้จ่าย สาเหตุที่ไม่คิดค่าบริการเพราะผมมีนโยบายให้ความรู้เป็นวิทยาทาน ศูนย์ฝึกเราก็มีเอง ประสบการณ์สอนหนังสือ 8 ปี รวมกับประสบการณ์ทำสำนักงานบัญชี 10 ปี ผมมั่นใจว่าเพียงพอในการจัดการศูนย์ฝึกอบรม ผมขอประชาสัมพันธ์ว่าเรามีความพร้อมที่จะเปิดให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและใกล้เคียงมาใช้บริการ โดยไม่คิดค่าบริการ สนใจลองติดต่อมานะครับ หรือโทรสอบถามได้ที่ โทร.02-194-9639 /081-555-7604 หรือจะแวะเวียนมาสอบถามพูดคุยกับผมก่อนก็ได้ครับ

BUNCHEE RUN 2019

BUNCHEE RUN 2019

BUNCHEE RUN 2019 รวมพลคนบัญชี (Run for Charity) เตรียมตัวให้พร้อม!! กับครั้งแรก งานวิ่งที่รวมนักบัญชีสายเฮลตี้ (Healthy) มากที่สุดในประเทศไทย 🗓📆 17 พฤศจิกายน 2562📍 ณ กระทรวงสาธารณสุข

สำนักงานบัญชีที่ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแตกต่างจากสำนักงานบัญชีทั่วไปอย่างไร

สำนักงานบัญชีที่ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแตกต่างจากสำนักงานบัญชีทั่วไปอย่างไร

สำนักงานบัญชีที่ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแตกต่างจากสำนักงานบัญชีทั่วไปอย่างไรหมายถึงจะทำบัญชีไม่ผิดพลาดเลยใช่ไหม ต้องเล่าสั้นๆว่าสิ่งสำคัญของการรับรองคือรับรองระบบงาน หมายความว่าไม่ใช่ว่าทำบัญชีเป็นแล้วจะบริหารสำนักงานหรือให้บริการได้ดีเสมอไป หรือทำแล้วจะประสบความสำเร็จเสมอไป บริการสำนักงานบัญชีผู้ให้บริหารก็มีหลากหลายประเภท ทั้งเป็นบุคคลธรรมดา เป็นนิติบุคคล มีประสบการณ์มากน้อยแตกต่างกันไป งานที่ออกมาจึงมีความแตกต่างกันไปตามประสบการณ์หรือแนวทางของแต่ละสำนักงาน ยกตัวอย่างเช่นผมทำอาหารอร่อยมากจึงไปเปิดร้านอาหาร ร้านก็อาจเจ๊งไม่เป็นท่าก็ได้ เพราะผมก็ไม่ได้เข้าใจการออกแบบร้าน ไม่รู้เรื่องการจัดคนเข้าระบบงาน ไม่รู้เรื่องทำเลที่ตั้ง ไม่รู้เรื่องจุดขายที่แตกต่าง ไม่รู้เรื่องการจัดการรสชาติอาหารให้มาตรฐานคงที่ ไม่รู้เรื่องการคุมค่าใช้จ่าย ขาดระบบการบริหารองค์กร ไม่รู้วิธีการทำการตลาด บริหารประสบการณ์ลูกค้าไม่เป็น นั่นหละก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ เช่นกันครับ การทำสำนักงานบัญชีก็ควรมีระบบการจัดคุณภาพ ซึงกรมพัฒนาธุรการค้าได้วางมาตรฐานและให้การรับรองสำนักงานบัญชีที่ปฎิบัติตามได้ ตามแนวทางของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชี ประกอบด้วยนโยบายและกระบวนการของแต่ละปัจจัยสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย ความรับผิดชอบของผู้บริหารของสำนักงานบัญชี ข้อกำหนดทางด้านจรรยาบรรณของสำนักงานบัญชี กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าของสำนักงานบัญชี การจัดการทรัพยากรของสำนักงานบัญชี การปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชี การติดตาม ตรวจสอบ ของสำนักงานบัญชี การจัดการเอกสารของสำนักงานบัญชี ซึ่งองค์ประกอบทั้ง7 ข้อเป็นเรื่องการบริการจัดการสำนักงานซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการที่ใช้บริการสำนักงานบัญชีมีความมั่นใจว่าบริการที่ได้รับมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้การบันทึกบัญชีหรือการจัดทำบัญชีต้องเป็นไปตามกฏหมายกำหนดอยู่แล้ว สำนักงานบัญชีที่เติบโตได้อย่างต่อเนื่องต้องมีระบบการทำงาน ทั้งนี้นอกจากมาตรฐานระบบสำนักงานบัญชีคุณที่กรมพัฒน์รับรองแล้วยัง ปัจจุบันระบบมาตรฐานธรรมาภิบาลธุรกิจ ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก6 ด้าน คือ 1.ด้านนิติธรรม 2.ด้านคุณธรรม 3.ด้านความโปร่งใส 4.ด้านการมีส่วนร่วม 5.ด้านความรับผิดชอบ 6.ด้านความคุ้มค่า ซึ่งเดิมเป็นระบบการประกวดเพื่อให้รางวัลทุกๆปี ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมาเปลี่ยนมาเป็นระบบให้การรับรองมาตรฐาน […]

คู่มือสำหรับลูกค้า การจัดทำแฟ้มเอกสารทางธุรกิจ

คู่มือสำหรับลูกค้า การจัดทำแฟ้มเอกสารทางธุรกิจ

แฟ้มใบกำกับภาษีขาย  จัดทำแฟ้มใบกำกับภาษีขายโดยจัดเรียงตามเลขที่ใบกำกับภาษี โดยให้เรียงเลขที่ใบกำกับน้อยอยู่ข้างล่างและให้เลขมากอยู่ข้างบน โดยเรียงเป็นเดือนๆ แฟ้มใบกำกับภาษีซื้อ(ต้นฉบับ)จัดทำแฟ้มใบกำกับภาษีซื้อโดยจัดเรียงตามวันที่ในใบกำกับภาษีซื้อ โดยให้เรียงวันที่ใบกำกับภาษีน้อยอยู่ข้างล่างและให้วันที่มากอยู่ข้างบน  โดยเรียงเป็นเดือนๆ  แฟ้มใบสำคัญจ่าย  จัดทำใบสำคัญจ่ายเฉพาะรายการที่เป็นรายการจ่าย ตั้งแต่ยอดเงิน 1,000 บาทขึ้นไป โดยมีเอกสารหลักฐานในใบสำคัญจ่ายแต่ละใบดังนี้คือ   ใบวางบิล  โดยมีรายละเอียดของเลขที่ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี ที่จะทำการจ่าย มียอดรวมของใบแจ้งหนี้ทั้งหมด,ลายเซ็นต์ผู้รับวางบิล-ผู้วางบิล,ผู้อนุมัติการวางบิล  วันที่รับวางบิลและวันที่วางบิล  ใบขอซื้อ แนบโดยมีรายละเอียดของรายการสินค้า,จำนวน,ราคา/หน่วย,ราคารวมและยอดรวมทั้งหมดของใบขอซื้อแต่ละใบ พร้อมทั้งมีลายเซ็นต์ผู้มีอำนาจอนุมัติจากกรรมการผู้มีอำนาจ  ใบแจ้งหนี้/สำเนาใบกำกับภาษี มีรายละเอียด เลขที่,วันที่,รายการ,จำนวนเงิน,ราคา/หน่วย,ยอดรวมทั้งหมดของใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษีพร้อมลายเซ็นต์ผู้อนุมัติจการกรรมการผู้มีอำนาจ   สำเนาเช็คจ่าย สำเนาใบPay in  สำเนารายการโอนเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ สำเนารายการโอนเงินผ่านระบบอินเทอเน็ต หลักฐานแสดงการเงินของผู้รับเงิน เช่นใบเสร็จรับเงิน   ใบแทนใบรับเงิน / สำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับเงิน   สำเนาหนังสือ รับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีที่กม.กำหนดให้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย   ควรหลีกเลี่ยงการจ่ายด้วยเงินสด/หากมีความจำเป็นที่ต้องจ่ายด้วยเงินสดควรมีจำนวนไม่มากเกินไป  แฟ้มใบสำคัญรับ จัดทำแฟ้มใบสำคัญรับไม่ว่าจะรับเป็นเงินสดหรือเช็ค โดยแต่ละใบสำคัญรับจะมีเอกสารหลักฐานในการจัดทำดังนี้  สำเนาใบรับวางบิลที่ไปวางบิลกับลูกค้าโดยจะมีรายละเอียดของวันที่วางบิล,เลขที่ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษีขาย,ยอดเงินของบิลแต่ละใบ,ยอดรวมทั้งหมดของใบวางบิล,ผู้วางบิล,ผู้รับวางบิลพร้อมมีรายเซ็นต์ของผู้อนุมัติจากกรรมการผู้มีอำนาจ ใบทวงหนี้หรือใบกำกับภาษีขายโดยจะเป็นยอดรายการสินค้า,ราคา/หน่วย,ยอดรวมของบิลแต่ละใบพร้อมมีลายเซ็นต์ผู้อนุมัติจากกรรมการผู้มีอำนาจ   ใบขอซื้อจากทางผู้ซื้อ  ใบเสร็จรับเงิน  […]

Scroll to Top