เงินกู้ยืมกรรมการ
ประเด็นความเสี่ยงของกิจการจากการเข้าตรวจสอบของสรรพากร
เงินกู้ยืมกรรมการ ประเด็นความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดในงบการเงินที่เจ้าของกิจการต้องรู้เพราะนำมาจากการเข้าตรวจสอบกิจการของกรมสรรพากร ทุกประเภทกิจการได้สรุปรวมไว้ตามรายละเอียดด้านล่าง สำนักงานรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อลูกค้า ทีมงาม ปรับปรุงความรู้ ข้อสังเกตต่างๆ เพื่อแนะนำจัดทำงบการเงินที่ถูกต้อง ปรับปรุงค่าใช้จ่ายต้องห้าม ค่าใช้จ่ายที่ไม่สอดคล้องออกจากงบการเงิน เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้อย่างถูกต้อง
ข้อผิดพลาดในงบดุล ( Balance Sheet Errors )
หมายถึง ข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่อบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน อันเกิดจากการจำแนกประเภทบัญชีผิด เช่น การจัดจำแนกลูกหนี้การค้าระยะสั้นเป็นเงินลงทุนระยะสั้น หรือการจัดตั๋วเงินจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายค้างจ่ายหรือการจัดสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ข้อผิดพลาดดังกล่าวนี้ จะต้องรายการแก้ไขปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องทันทีเมื่อตรวจพบ
ข้อผิดพลาดในงบกำไรขาดทุน ( Income Statement Errors )
หมายถึง ข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่อบัญชีรายได้หรือค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการจำแนกประเภทบัญชีผิด เช่น บันทึกค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าให้ลูกค้าเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร หรือบันทึกรายได้จากดอกเบี้ยรับเป็นรายได้จากการขาย ข้อผิดพลาดในการจำแนกรายการในงบกำไรขาดทุนผิดจะไม่มีผลกระทบต่องบดุลและงบกำไรขาดทุน ดังนั้น ถ้าหากเป็นข้อผิดพลาดของปีก่อที่ได้ปิดบัญชีไปแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องลงรายการแก้ไขปรับปรุงเมื่อตรวจพบ แต่ถ้าหากเป็นข้อผิดพลาดของปีปัจจุบันระหว่างปี ก็จำเป็นต้องรายการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องทันทีเมื่อตรวจพบ
ข้อผิดพลาดที่กระทบทั้งงบดุลและงบกำไรขาดทุน ( Balance Sheet and Income Statement Effect )
เงินกู้ยืมกรรมการ
หมายถึง ข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่อบัญชีสินทรัพย์ หรือ หนี้สิน หรือ ทุน และกระทบต่อรายได้หรือค่าใช้จ่าย เช่น มิได้บันทึกรายได้หรือค่าใช้จ่าย เช่น มิได้บันทึกรายได้ค้างรับ ณ วันสิ้นงวดการบัญชี ผลของความผิดพลาดนี้จะทำให้รายได้ของงวดต่ำไป ซึ่งเป็นผลทำให้กำไรสุทธิของงวดต่ำไป และทำให้สินทรัพย์มีจำนวนต่ำไปด้วย
ประเด็นความเสี่ยง เงินกู้ยืมกรรมการในส่วนที่ต้องระมัดระวัง คือ เงินของกิจการที่ให้เจ้าของกิจการกู้ยืม เช่นเงินทุนของบริษัท (งบเปล่า) การปรับปรุงตัวเลขทางบัญชีที่ไม่สามารถหาที่มีที่ไปได้เข้าบัญชีนี้ ตามข้อกำหนดที่
มาตรา 65 ทวิ (4) ในกรณีโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยนั้น ตามราคาตลาดในวันที่โอน ให้บริการหรือให้กู้ยืมเงิน
Leave a Reply